ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีดูแลผดผื่นบนใบหน้าทารก

ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก

09.05.2024

ผื่นขึ้นหน้าทารกทำไงดี? รู้จักอาการผื่นขึ้นหน้าทารกและสาเหตุที่ทำให้ทารกเป็นผื่นแดงที่หน้าพร้อมวิธีดูแลและป้องกัน จะมีวิธีป้องกันอย่างไร ไปดูกัน

headphones

PLAYING: ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี พร้อมวิธีแก้ผดผื่นบนใบหน้าทารก

อ่าน 8 นาที

 

สรุป

  • ผื่นขึ้นหน้าทารกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย สาเหตุมีหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม การแพ้อาหาร สารก่อภูมิแพ้ สารเคมี อากาศ เสื้อผ้า การสัมผัสกับทราย แสงแดด
  • ดูแลผิวลูกให้นุ่มชุ่มชื้น หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น อากาศร้อน ฝุ่นละออง สารเคมี น้ำหอม เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ปราศจากสารเคมี ซักเสื้อผ้าด้วยน้ำยาซักผ้าเด็ก ให้ลูกดื่มนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และปรึกษาแพทย์เมื่อลูกมีผื่นขึ้น เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
  • หากลูกมีผื่นเม็ดเล็ก ๆ ที่หน้า ควรไปพบแพทย์เมื่อผื่นลุกลาม มีอาการรุนแรง ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

บ้านไหนที่ทารกเป็นผื่นขึ้นตามหน้าตามตัวมามุงกันทางนี้เลยค่ะ เมื่อเห็นเจ้าตัวเล็กมีอาการคันไม่สบายตัว ยิ่งคันยิ่งเกา ยิ่งเกาก็ยิ่งคัน จนมีผดผื่น ตุ่มใสขึ้น คนเป็นแม่อย่างเราเห็นแล้วก็คงเป็นห่วงและกังวลใช่ไหมล่ะคะ ยิ่งในเด็กทารกที่ความสามารถในการปกป้องผิวหนังตามธรรมชาติยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้ผิวไวต่อมลภาวะภายนอก และมีแนวโน้มที่จะสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ก็มักจะมีอาการผื่นขึ้นหน้าทารก หรือที่ซอกคอ แม้จะดูเหมือนเป็นอาการเล็กน้อยและเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการผื่นแพ้ในทารกหรือผื่นขึ้นหน้าทารก อาจส่งผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของลูกในระยะยาวได้ คุณแม่คนไหนยังไม่รู้ว่า หากผื่นขึ้นหน้าทารกจะทำอย่างไรดี วันนี้เรามารู้จักสาเหตุและวิธีป้องกันอาการผื่นขึ้นหน้าทารกกันเลย

 

ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ ที่หน้า เกิดจากอะไรได้บ้าง

หากลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ บนใบหน้า อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและปัจจัย เช่น อาจเกิดจากผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง กลากน้ำนม คราบไขมันที่หนังศีรษะ หรือผื่นลมพิษ เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

 

ลูกเป็นผื่นที่หน้าและหัวด้วย บอกถึงอะไรได้บ้าง

การที่ลูกเป็นผื่นที่บริเวณใบหน้าและศีรษะบ่งบอกว่า ลูกกำลังเกิดอาการแพ้ ซึ่งอาจเกิดมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เช่น การเล่นน้ำนานเกินไป การอาบน้ำบ่อยเกินไป การอาบน้ำร้อนเกินไป การได้รับสารก่อภูมิแพ้ การแพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาให้ตรงจุด

 

ผื่นขึ้นหน้าทารก เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ไหม?

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มแดง หรือ ตุ่มน้ำใส ขึ้นบนบริเวณใบหน้าของทารกนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยกรรมพันธุ์หรือพื้นฐานทางพันธุกรรมของลูกและคนในครอบครัวที่มีคนเป็นโรคภูมิแพ้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดผื่นภูมิแพ้ของลูก

 

สารก่อภูมิแพ้ ที่ทำให้ลูกเป็นผื่นที่หน้า มีอะไรบ้าง

สารก่อภูมิแพ้ที่อาจทำให้ลูกเกิดอาการแพ้ เป็นผื่นบนใบหน้า ยกตัวอย่างเช่น เชื้อรา ไรฝุ่น อาหารที่ลูกแพ้ เช่น นม ถั่ว และไข่ การอยู่ในที่ที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม การอาบน้ำบ่อยเกินไป การอาบน้ำร้อนเกินไป จนทำให้ผิวแห้ง เกิดการระคายเคือง รวมไปถึงการสัมผัสกับแสงแดดจัดเกินไป โดยไม่มีการทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิว

 

สาเหตุที่ทำให้ทารกเป็นผื่นและผื่นขึ้นหน้าทารก

ผื่นในเด็กหรือผื่นขึ้นหน้าทารก สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพันธุกรรม ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหอบหืด โรคแพ้อากาศ ผื่นภูมิแพ้ทางผิวหนัง ผื่นทารก หรือปัจจัยอื่นที่พบบ่อยมักเกิดจาก การแพ้อาหาร เช่น แพ้โปรตีนจากนมวัว ไข่ ถั่ว แป้งสาลี

 

อาการผื่นขึ้นหน้าทารก ทารกเป็นผื่นแดงที่หน้า โดยเฉพาะบริเวณแก้มทั้งสองข้างและคาง จะเป็นผื่นแดง บางครั้งมีตุ่มน้ำใสและแตกออกมาเป็นน้ำแฉะ ๆ ทำให้คัน โดยมากเกิดจากการแพ้สัมผัสกับนมที่เด็กอาจจะแหวะออกมาเลอะตามบริเวณดังกล่าว เพราะในนมที่เด็กแหวะออกมาก็จะมีน้ำย่อยในกระเพาะออกมาด้วย หรือเด็กที่ชอบเล่นน้ำลาย ซึ่งในน้ำลายก็จะมีน้ำย่อยอยู่เช่นกัน ทำให้เกิดการระคายเคืองและกลายเป็นผื่นขึ้นมาได้ มักจะรู้จักกันดีที่เรียกว่าขี้กลากน้ำนม ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ได้เกิดจากเชื้อรา กลาก เกลื้อนแต่อย่างใด เช่น

  • การแพ้สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อม เช่น ตัวไรฝุ่น ซากแมลงสาบ และละอองเกสร
  • การแพ้สารซาลิไซเลตในผลไม้และผัก และวัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารแต่งรสในอาหารแปรรูป
  • การแพ้สารที่มีกลิ่น เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
  • ผื่นขึ้นหน้าทารกหรือทารกเป็นผื่นแดงที่หน้า อาการอาจรุนแรงขึ้น เมื่อสวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อหยาบ เสื้อผ้าที่คับ การสัมผัสกับทราย อากาศที่แห้ง และฝุ่นละออง โดยเฉพาะฝุ่นจิ๋ว

 

วิธีดูแลผดผื่นใบหน้าทารกและวิธีป้องกันผื่นขึ้นหน้าทารก

 

ผื่นที่หน้าทารก หายเองได้ไหม

ผื่นแต่ละชนิดมีสาเหตุ สิ่งกระตุ้น อาการ ความรุนแรง วิธีรักษา รวมไปถึงผลการรักษาที่แตกต่างกันออกไปในเด็กแต่ละคน คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธี เพราะการรักษาที่ไม่ถูกวิธ๊ ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือรอยดำได้

 

ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ ที่หน้า และมีอาการคัน ทายาแก้คันได้ไหม

การรักษาผื่นคันบนใบหน้า สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องผิวให้ชุ่มชื้นไม่แห้งตึง ด้วยการทาครีมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่อุ่นหรือร้อนจนเกินไป หลีกเลี่ยงเล่นน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานานเกินไป ไม่อาบน้ำหรือใช้สบู่ที่ทำให้เกิดแรงตึงผิวบ่อยเกินไป โดยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี และอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เสมอ

 

ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ ที่หน้า แบบไหนควรไปปรึกษาแพทย์

ถ้าลูกมีผื่นขึ้นหรือผื่นเห่ออยู่เรื่อย ๆ เป็น ๆ หาย ๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ควรปล่อยให้มีอาการเกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื้อรัง คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัย ซักประวัติ ตรวจสอบว่าเป็นโรคอะไรให้ชัดเจน เพื่อรับการรักษาได้อย่างถูกต้อง ตรงจุด

 

วิธีดูแลผดผื่นใบหน้าทารกและวิธีป้องกันผื่นขึ้นหน้าทารก

การดูแลผิวพรรณของลูกน้อย เมื่อผื่นขึ้นหน้าทารกเป็นเรื่องที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก ๆ เพราะหากลูกเป็นผื่นเพียงนิดเดียวก็อาจลุกลามกลายเป็นผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ คุณแม่ที่กำลังสงสัยอยู่ว่า ผื่นขึ้นหน้าทารก ทำไงดี จึงต้องดูแลเขาด้วยความอ่อนโยนที่สุดด้วยวิธี ดังนี้

  1. ทุกครั้งที่เด็กแหวะนมออกมาเลอะบริเวณแก้มและคาง ควรใช้สำลีชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันทารกเป็นผื่นแดงที่หน้า
  2. ให้ลูกสวมใส่เสื้อผ้าเบาสบายที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อป้องกันทารกเป็นผื่นผดร้อน
  3. ซักผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้าในน้ำยาซักผ้าที่ปราศจากสารเคมีและน้ำหอม และล้างออกด้วยน้ำจนสะอาด ไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม
  4. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่อุ่นจนเกินไป ใช้ครีมอาบน้ำหรือสบู่อ่อนที่ไม่มีน้ำหอมในตอนเย็นครั้งเดียว หลีกเลี่ยงสารสกัดธรรมชาติที่ทำมาจากอาหาร เช่น นม ข้าวโอ๊ต แป้งสาลี และใช้แค่น้ำในการทำความสะอาดร่างกายลูกน้อยในตอนเช้า
  5. ปกป้องผิวของลูกน้อย เพื่อป้องกันทารกเป็นผื่น โดยการทาโลชั่นทาผิวสูตรเฉพาะสำหรับเด็ก ชนิดปราศจากน้ำหอมและหลีกเลี่ยงสารสกัดธรรมชาติที่ทำมาจากอาหาร เช่น นม ข้าวโอ๊ต แป้งสาลี หลังอาบน้ำแล้วซับตัวให้หมาด ๆ และทาภายใน 3 นาทีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  6. ควรวางผ้าปูเมื่อให้ลูกน้อยเล่นบนพื้นหรือพื้นดิน และหลีกเลี่ยงการวางลูกไว้บนพรม หญ้าหรือทรายโดยตรง และควรใช้ผ้าอ้อมของเด็กวางพาดไว้บนบ่าของคนอุ้มทุกครั้ง เพราะเวลาเด็กง่วงก็มักจะเอาแก้มมาวางซบไว้บริเวณบ่าของคนอุ้ม เป็นการป้องกันบริเวณใบหน้าและแก้มของเด็กมาสัมผัสกับเสื้อผ้าของคนอุ้มด้วย

 

คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมอย่างน้อย 6 เดือนแรก หรือนานที่สุดเท่าที่จะให้ได้ เพราะนมแม่มีคุณสมบัติ hypoallergenic (H.A.) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ได้ เพราะนมแม่มีสารอาหารกว่า 200 ชนิด รวมทั้งโปรตีนในนมแม่บางส่วนมี PHP (Partially Hydrolyze Protein ) และ มีพรีไบโอติกโอลิโกแซคคาไรด์ ซึ่งประกอบด้วยใยอาหารหลากหลายชนิด มี 5 ใยอาหารหลัก (5 Oligosaccharides หรือ 5 HMOs เช่น 2’FL, DFL, LNT, 6’SL และ 3’SL ) ช่วยเรื่องระบบภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก โดย 2’FL เป็นโอลิโกแซคคาไรด์ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ รวมทั้งมีโพรไบโอติกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายสายพันธุ์ เช่น B. lactis (บีแล็กทิส) ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงของการเกิดภูมิแพ้ โดยสังเกตได้จากทารกที่ได้รับนมแม่จะมีการเกิดภูมิแพ้น้อยกว่า และมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่า

 

ที่สำคัญคุณแม่ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่มากระตุ้นให้ทารกเป็นผื่นแดงตามตัว หรือสิ่งที่ทำให้ทารกเป็นผื่นแดงที่หน้าหรือที่คอ รวมทั้งฝุ่นจิ๋วด้วย สำหรับเรื่องอาหารก็ควรทานอาหารตามวัย เพื่อจะสามารถสังเกตได้ว่าลูกมีผื่นหลังทานอาหารตัวใหม่ตัวใด ซึ่งผื่นจากการแพ้อาหารในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการแพ้โปรตีนนมวัวและไข่ โดยเฉพาะไข่ขาว โดยพบได้บ่อยในเด็กวัยทารก เพราะระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงแสดงอาการแพ้ออกมาทางระบบผิวหนัง แต่คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกเป็นผื่นแดงทั้งตัว และบนใบหน้าเกิดจากอาการแพ้อาหารหรือเปล่า?

 

วิธีทดสอบเบื้องต้น คือ ลองสังเกตอาการลูก โดยการให้ลูกงดทานอาหารต้องสงสัย ประมาณ 1- 2 สัปดาห์ จนกระทั่งอาการผื่นคันหายไป จากนั้นลองให้ลูกกินใหม่อีกครั้ง ถ้าผื่นขึ้นตัวหรือผื่นขึ้นหน้าทารกอีก ก็อาจเป็นไปได้ว่าทารกเป็นผื่นเพราะเเพ้อาหารชนิดนั้น หากสงสัยว่าลูกมีอาการเเพ้อาหารควรพาไปพบกุมารแพทย์ด้านโรคภูมิแพ้เพื่อวินิจฉัยอีกครั้ง เพื่อความแม่นยำ แต่ในกรณีที่เป็นผื่นลมพิษ ไม่ควรลองทานอาหารต้องสงสัยเองที่บ้าน

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่

 


อ้างอิง:

  1. 5 ผื่นแพ้ของลูกน้อย พบบ่อย…แต่รับมือได้, โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. สารพันปัญหาผื่นในเด็ก, โรงพยาบาลสมิติเวช
  3. ลักษณะของผื่นปิวหนังในเด็ก แบบไหน เป็นอะไร, โรงพยาบาลรามคำแหง

อ้างอิง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567
 

บทความแนะนำ

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูก

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูก

ย้ายทะเบียนบ้านลูกใช้อะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่อยากย้ายทะเบียนบ้านลูกต้องเตรียมเอกสารอะไร สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ไหม พร้อมขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านลูกที่ถูกต้อง

เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า

เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน แบบไหนคือพัฒนาการล่าช้า

เด็กนั่งได้กี่เดือน ทารกนั่งได้ตอนกี่เดือน ลักษณะแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกมีพัฒนาการล่าช้า พ่อแม่จะฝึกให้ลูกนั่งได้อย่างไรบ้าง ช่วงวัยไหนเหมาะสมที่สุด ไปดูกัน

วิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี ให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข

วิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี ให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข

รวมวิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดี อยากให้ลูกอารมณ์ดี มีความสุข ไม่เป็นเด็กขี้หงุดหงิด ต้องทำยังไงบ้าง ควรเริ่มฝึกช่วงไหน ไปดูวิธีการเลี้ยงลูกให้อารมณ์ดีกัน

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ คืออะไร ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้จริงไหม

ทฤษฎีของเพียเจต์ ช่วยพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กได้จริงไหม มีข้อดีข้อเสียยังไงบ้าง ไปทำความเข้าใจทฤษฎีของเพียเจต์ ที่ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยกัน

เลือกระยะการตั้งครรภ์และพัฒนาการเด็ก